ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวเจ้าสีม่วงดำมีลักษณะที่นุ่มเหนียว รสชาติหอมหวานนุ่มนวล คุณสมบัติเด่นทางโภชนาการ คือ มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่เบต้าแคโรทีน วิตามินอี โพลีฟีนอล แอนโทไซยานิน ป้องกันเส้นเลือดอุดตันสารสกัดจากรำข้าวพันธุ์นี้มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเซลล์มะเร็งทดสอบซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ป้องกันการเสื่อมของตับ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต และลดคอเลสเตอรอลในเลือด เป็นข้าวที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ อาจจะเป็นเพราะใยอาหารที่อยู่ในรำข้าวช่วยชลอการดูดซึมของน้ำตาล ทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้นช้ากว่าการรับประทานข้าวกล้องจึงเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพนอกจากนี้ รำข้าวและน้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ ยังมีคุณสมบัติที่ดีเหมาะสมสำหรับใช้ทำผลิตภัณฑ์อาหารเชิงสุขภาพอีกด้วย โดยได้คิดค้นวิธีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน โดยใช้ส่วนรำข้าวมาปั้นเป็นยาลูกกลอนด้วย ซึ่งขณะนี้ได้จดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่เรียบร้อยแล้ว
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์โดยการผสมเลียนแบบธรรมชาติแล้วคัดเลือก โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ จนได้พันธุ์ข้าวที่มีความบริสุทธิ์ และมีคุณสมบัติเด่นต้านสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ดีและเข้มข้นที่สุด
ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ ได้รับการคัดเลือกและพัฒนา โดยการผสมข้าวพันธุ์ระหว่างข้าวหอมนิล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พันธุ์พ่อ) กับ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากสถาบันวิจัยข้าว (พันธุ์แม่) โดยเริ่มผสมพันธุ์เมื่อปี 2545 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อได้ลูกผสม F1 ปล่อยให้มีการผสมตัวเอง แล้วเก็บเมล็ด F2 มาปลูกต่อซึ่งมีจำนวนมากกว่า 10,000 ต้น ทำการคัดเลือกต้น F2 จากการสังเกตลักษณะทรงต้นที่ให้ผลผลิตดี การติดเมล็ดดี รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ได้จำนวน 500 ต้น ในปีเดียวกัน จากนั้นประเมินคุณภาพเมล็ดโดยกระเทาะเมล็ดแล้วสังเกตสม่ำเสมอ สังเกตความใส-ขุ่นของเมล็ด การแตกหักจากการสีแล้วจึงคัดเลือก F3 family ได้ 300 ครอบครัวปลูก ครอบครัว F3 จำนวน 16 ต้น ต่อครอบครัวแบบปักดำ ทำการคัดเลือกครอบครัวที่มีต้นที่ให้ผลผลิตสูง ติดเมล็ดดี ขนาดเมล็ดใหญ่ ยาวเรียว, ไม่เป็นโรคไหม้คอรวง, เปลือกเมล็ดสะอาด, คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีเมล็ดข้าวกล้องสีม่วงเข้ม+ดำ, น้ำหนักเมล็ดต่อครอบครัวดี แล้วทำการคัดเลือกภายในครอบครัวให้จำนวนประมาณ 2-5 ตันในปี 2546 และทำเช่นนี้อีกในรุ่น F4 และ F5 ในปี 2547 จากนั้นทำการเปรียบเทียบผลผลิตในรุ่น F6 และ F7 ในปี 2548 โดยเลือกครอบครัว F6 จำนวน 96 ครอบครัว ปลูกแบบปักดำจำนวน 25 ตัน / ครอบครัว ทำเป็น 3 ซ้ำ เพื่อเปรียบเทียบผลผลิต ลักษณะที่แสดงออกปริมาณธาตุเหล็กและปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระชนิดต่างๆ แล้วทำการคัดเลือกด้นดีเด่นภายในครอบครัวแล้ว bulk ให้ครอบครัว F7 เพื่อปลูกเปรียบเทียบผลผลิตเป็นครั้งที่ 2 และวิเคราะห์คุณค่าโภชนาการซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ค้นพบข้าวเจ้าสีม่วงเข้ม เมล็ดเรียวยาว ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ สูงและมีคุณค่าทางโภชนาการโดยรวมดีเด่น 1 สายพันธุ์ในปี พ.ศ. 2548 ด้วยลักษณะที่เป็นข้าวจ้าวที่มีสีม่วงเข้มจนดำ จึงเป็นที่มาของการให้ชื่อพันธุ์ว่า “ไรซ์เบอร์รี่” นั้นเอง
ความสูง | 105-110 ซม. |
อายุเก็บเกี่ยว | 130 วัน |
ผลผลิต | 300-500 กก. / ไร่ |
% ข้าวกล้อง (Brown rice) | 76% |
% ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด (head rice) | 50% |
ปริมาณ Amylose | 15.6 % |
อุณหภูมิแป้งสุก | < 70 ◦c | ความยาวของเมล็ด ข้าวเปลือก | 11 ม.ม. |
ความยาวของเมล็ด ข้าวกล้อง | 7.5 ม.ม. |
ความยาวของเมล็ด ข้าวขัด | 7.0 ม.ม. |
ธาตุเหล็ก | 13-18 mg/kg |
ธาตุสังกะสี | 31.9 mg/kg |
โอเมกา-3 | 25.51 mg/100 g |
วิตามิน อี | 678 ug/100 g |
โฟเลต | 48.1 ug/100 g |
เบต้าแคโรทีน | 63 ug/100 g |
โพลีฟีนอล | 113.5 mg/100 g |
แทนนิน | 89.33 mg/ 100 g |
แกมมา-โอไรซานอล | 462 ug/g |
สารต้านอนุมูลอิสระ ชนิดละลายในน้ำ | 47.5mg ascorbic acid quivalent/100g |
สารต้านอนุมูลอิสระ ชนิดละลายในน้ำมัน | 33.4mg trolox equivalent/100g |
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ แม้ว่าจะเป็นข้าวที่ถูกพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่ แต่ประโยชน์ของข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่อร่างกายไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าข้าวชนิดอื่นๆ ดั้งนั้นใครก็ตามที่สนใจดูแลรักษาสุขภาพ ก็ลองหันมาลิ้มชิมรสข้าวไรซ์เบอร์รี่สีม่วงเข้มกันดูบ้าง เผื่อว่าคุณอาจจะติดใจสรรพคุณดีๆ ของข้าวไรซ์เบอร์รี่ จนไม่อยากรับประทานข้าวชนิดอื่นๆก็เป็นได้
ที่มา: ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว, Sukkaphap-d.com (October 21,2016)